ติดต่อลงโฆษณา racingweb@gmail.com

ผู้เขียน หัวข้อ: ดอกบัวอบแห้ง: ดอกบัว กับพุทธศาสนา เป็นมากกว่าดอกไม้ที่ความสวยงามเท่านั้น  (อ่าน 505 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 402
    • ดูรายละเอียด
ดอกบัวอบแห้ง: ดอกบัว กับพุทธศาสนา เป็นมากกว่าดอกไม้ที่ความสวยงามเท่านั้น

ดอกบัว กับพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่คู่กันมาโดยตลอด เมื่อเราไปวัด หรือ สถานที่ปฎิบัติธรรม เรามักจะ สังเกตเห็นว่าสิ่งที่พุทธศาสนิกชนนำมากราบและถวายบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะต้องมีดอกบัวเป็นดอกไม้พุทธบูชาประเภทหนึ่งอยู่เสมอ และเราก็มักจะได้ยินถึงการเปรียบเทียบดอกบัวกับมนุษย์ที่บอกว่า

บัวนั้นมี ๔ เหล่าหรือ ๔ ประเภท อันได้แก่ บัวก้นบึ้ง บัวใต้น้ำ บัวปริ่มน้ำ

และบัวพ้นน้ำ อันมีความหมายแยกแยะได้ดังนี้

1.    บัวก้นบึ้ง เปรียบเทียบกับ โมฆะบุรุษ มนุษย์ที่เกิดมาสูญเปล่า ไม่รู้ผิดหรือชอบ ไม่เกรงกลัวในบาปกรรม

2.    บัวใต้น้ำ เปรียบเทียบกับ บุคคลที่ยังรู้ผิดชอบชั่วดีบ้าง มีศีลบ้าง บุคคลกลุ่มนี้หากได้กัลยาณมิตรที่ดี ก็จะมีโอกาส มีความเจริญรุ่งเรือง กลายเป็นบัวปริ่มน้ำได้

3.    บัวปริ่มน้ำ เปรียบเทียบกับ บุคคลที่มีศีล รู้จักการรักษาศีล ๕ ให้คงไว้ รู้จักมีเมตตา เผื่อแผ่ ถือศีล ๕ ได้ครบบ้าง ไม่ครบบ้าง แต่พยายามหมั่นฝึกฝน และมีโอกาสเป็นผู้เจริญแล้วได้ไม่ยาก

4.    บัวพ้นน้ำ เปรียบเทียบกับ ผู้รักษาศีล ๕ ได้ครบถ้วน และไม่ละเลยการเพียรทำความดี เป็นผู้เจริญแล้ว

บัวนั้นมี ๔ เหล่าหรือ ๔ ประเภท

ดอกบัวที่เราใช้กราบไหว้บูชา จึงมีความหมายและนัยมากกว่าการเป็นเพียงดอกไม้ที่ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ความสวยงามไว้เพียงเท่านั้น หากกล่าวไปถึงในอดีต ดอกไม้หลากหลายชนิดบนโลกใบนี้อาจจะไม่ได้มีไว้เพียงแค่เป็นตัวแทน การกราบไหว้ เคารพนับถือบูชาเท่านั้น แต่ความงามของดอกไม้เป็นเสมือนอาภรณ์ที่ประดับร่างกาย เพื่อให้เกิดความสวยงาม เพราะดอกไม้ไม่ได้มีเพียงรูปลักษณ์ที่งดงามท่านั้น แต่ดอกไม้ทุกชนิดบนโลกใบนี้ยังมีกลิ่นหอมเย้ายวนใจอีกด้วย การนำดอกไม้มาประดิษฐ์เป็นอาภรณ์ หรือประดับร่างกาย ยังทำให้มีกลิ่นหอมหวน และจิตใจผ่องใสเบิกบานได้เช่นกัน นอกจากนี้ในบรรดาเครื่องหอมทั้งปวงของคนสมัยโบราณ อาทิ เช่น น้ำอบ น้ำปรุง(น้ำหอมแบบไทยๆ) ก็ยังมีกลิ่นที่สกัดมาได้จากดอกไม้นานาพรรณ ไม่ว่าจะเป็น กุหลาบ มะลิ จำปี จำปา ชมนาด กระดังงา ราตรี แม้แต่ดอกบัว ก็มีกลิ่นหอมเช่นกัน

ดอกไม้จึงเหมาะกับทั้งนำมาประดับบ้านเรือนให้สวยงาม ดูสดใส และนิยมนำมาถวายเป็นพุทธบูชาในศาสนสถานต่างๆ การนิยมชมชอบดอกไม้ประเภทใด ก็ขึ้นอยู่กับกลุ่มคนในชาตินั้นเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ชาวอาทิตย์อุทัยนิยมดอกซากุระ สะท้อนให้เห็นถึงความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ เพราะ ดอกซากุระ เมื่อบานก็จะบานพร้อมกัน และเมื่อถึงเวลาร่วงโรย ก็ร่วงพร้อมกันเสมอ ในประเทศไทยของเรา ดอกประดู่ ซึ่งเป็นตัวแทนสัญลักษณ์ความสามัคคี กองทัพเรือมีเพลงดอกประดู่ เพื่อไว้ปลุกใจและสร้างความสามัคคี และหากพูดถึงในประเทศอินเดีย ประเทศต้นกำเนิดศาสนาที่สำคัญของโลก อันได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ ดอกบัว เป็นดอกไม้ที่ได้รับเกียรติอันสูงสุด เพราะได้รับการเปรียบเทียบ ดอกบัว กับพระพุทธเจ้า หรือ แม้แต่สาวกของพระพุทธเจ้า หากเรานึกถึงภาพตอนพระพุทธเจ้าประสูติ พระองค์ทรงก้าวย่างไปบน ดอกบัว หรือแม้แต่เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ก็ยังมีตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเทพเจ้าและ ดอกบัว

ดอกบัว กับพระพุทธ  สำหรับพุทธศาสนา ดอกบัวมีความสำคัญมากในแง่ของการเป็นตัวแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะสั่งเกตได้ว่า ไม่ว่าพระพุทธองค์จะประทับในพระอิริยาบถใดก็ตาม เช่น นั่ง นอน หรือ ยืน ดอกบัวจะเป็นส่วนฐานที่คอยรองรับพระวรกายของพระพุทธองค์เสมอ ดอกบัวเปรียบเทียบได้กับความบริสุทธิ์ แม้แต่น้ำค้างก็ไม่สามารถทำให้บัวเปียกได้ จึงมีคนโบราณมักพูดว่า น้ำย่อมไม่ค้างบนใบบัว เปรียบเทียบกับพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ แม้จะเกิดมาในชมพูทวีป โลกของมนุษย์ที่มีทั้งกิเลส ความโลก ความโกรธ และความหลง แต่ทั้งหมดก็ไม่สามารถทำให้พระหฤทัยของพระพุทธองค์แปดเปื้อนได้เลยแม้แต่น้อย หากเราสังเกตให้ชัดแจ้งถึงภูมิปัญญาของคนโบราณในการสร้างถาวรวัตถุ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เช่นการสร้างพระพุทธรูป ก็มักจะมีดอกบัวเป็นฐานรองรับอยู่เสมอ และลักษณะของดอกบัวนั้นยังแฝงไปด้วยการเปรียบเทียบที่เกี่ยวข้องกับบัวทั้ง ๔ เหล่าที่กล่าวถึงในข้างต้นด้วย ดังจะอธิบายเล่าได้ดังนี้คือ ฐานดอกบัวมักจะเป็นบัวซ้อนกัน ๒ ชั้น คือ มีกลีบบัวคว่ำ และกลีบบัวหงาย ลักษณะของกลีบบัวหงาย ก็คือ ตัวดอกบัวที่บานรองรับพระพุทธองค์ และในส่วนของกลีบบัวคว่ำ คือ เงาของดอกบัวที่บานอยู่ในน้ำนั่นเอง คนโบราณช่างคิด และทำให้เราสามารถเข้าใจถึงความละซึ่งกิเลสทั้งปวง ความเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากซึ่งกิเลสของพระพุทธองค์

 ดอกบัว คือดอกไม้ที่บอบบาง หากน้ำในตมหรือโคลนเหือดแห้ง ดอกบัวก็มีสิทธิ์ที่จะเหี่ยวแห้งและตายได้ในที่สุด และไม่เพียงแต่ลักษณะของดอกบัวเท่านั้นทีมีนัยและมีความหมายถึงพระพุทธเจ้า แต่สีของบัวนั้นยังมีหลากหลาย และสอดคล้องกับรัศมีของพระพุทธองค์ หรือ ฉัพพรรณรังสี ถึง ๖ ประการ หากกล่าวถึงพระรัศมีพระวรกายของพระพุทธองค์อย่างเดียว ก็สามารถเทียบกับสีของดอกบัว ๔ สี ได้แก่ บัวแดง, บัวขาว, บัวเขียว และบัวสีเหลือง และในการเปรียบเทียบดอกบัวกับพระสงฆ์ สาวกในพระพุทธเจ้า ผู้เผยแผ่คำสอนของศาสนาพุทธ ก็เช่นกัน ผู้ใดก็ตามแม้เกิดในชนชั้นวรรณะที่ต่ำด้อย อย่างในประเทศอินเดีย ที่ถือเอาเรื่องชนชั้นมาเป็นการแบ่งแยกอย่างจริงจังและรุนแรง ก็สามารถเป็นผู้มีคุณค่าได้ เมื่ออยู่ภายใต้ร่มกาสาวพักตร์ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ใฝ่รู้ในธรรม ถือศีลครบถ้วนบริบูรณ์จนน่าเคารพเลื่อมใส การได้บวชเป็นพระสงฆ์ ตัวแทนผู้เผยแผ่คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ถือว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมแล้ว และมีความพร้อมในการสละเรื่องทางโลก เปรียบเทียบได้กับ ดอกบัวที่ใช้บูชาพระพุทธเจ้าเช่นกัน

แต่การเป็นดอกบัวที่บริสุทธิ์ของพระสงฆ์นั้น ต้องผ่านการฝึกฝน ทดสอบกิเลสทางใจพอสมควร หากไม่สามารถละได้ซึ่งกิเลส และความมัวเมาในทางโลกได้แล้ว ก็ย่อมไม่สามารถเป็นดอกบัวที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ดอกบัวตัวแทนของพระพุทธเจ้า ผู้เผยแผ่คำสอนพุทธศาสนาได้แม้แต่น้อย เพราะดอกบัว คือดอกไม้ที่บอบบาง หากน้ำในตมหรือโคลนเหือดแห้ง ดอกบัว ก็มีสิทธิ์ที่จะเหี่ยวแห้งและตายได้ในที่สุด เช่นเดียวกับพระสงฆ์ที่มีความตั้งใจประพฤติปฏิบัติศีลอย่างเคร่งครัด แต่กลับมีอุปสรรคอื่นๆ บั่นทอนความตั้งใจจนต้องลาสิกขาไป หรือแม้แต่พระสงฆ์ ที่เจ็บไข้ได้ป่วยจนไม่สามารถรักษาสมณเพศได้อีก เปรียบได้กับ ดอกบัวที่ถูกแมลง หนอนกัดกินจนตายไปนั่นเอง ดังนั้นการจะเป็น ดอกบัว ที่บริสุทธิ์ได้นั้น ต้องเคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง

หากกล่าวถึงในเชิงศิลปะวัตถุ หรือ สถาปัตยกรรม ดอกบัวยังมีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนามากมาย ลองคิดง่ายๆ เพียงแค่ก้าวเข้าไปในวัด เราก็สามารถพบเห็น ดอกบัว ในรูปแบบศิลปวัตถุได้แล้ว ไม่ว่าจะประดับตามเสาวิหาร พระอุโบสถ ภาพจิตรกรรมตามอ่างบัว หรือบนฝาผนังในพระอุโบสถ รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น กระถางธูป โคมไฟ พุ่มเทียน ก็ยังมีลักษณะเป็นรูปดอกบัวทั้งสิ้น

ดอกบัว กับพระพุทธศาสนา จึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกขาดจากกันได้ เพราะดอกบัวเปรียบเป็นได้ทั้ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้า ศิลปวัตถุ ศิลปะไทยในทุกแขนง นัยและความหมายของดอกบัวเพียง ๑ ดอก ยังมีความหมายมากมายในเชิงพุทธศาสนา เช่น คำสอนในการรักษาตนให้เป็นคนดี ยังสามารถแบ่งแยก ความเป็นบุคคลจากบัว ๔ ประเภทได้ คำสอนเหล่านี้มีนัย และความหมายที่ลึกซึ้ง การเข้าถึงพระพุทธศาสนาได้ จึงเป็นการฝึกฝน ละ ลด กิเลสในใจได้อย่างแท้จริง เพราะศาสนาพุทธสอนบนหลักของสิ่งที่เรียกว่า เหตุ และ ผล เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ 'ดอกบัว' จึงเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา โดยแยกไม่ออก เพียงพิจารณาดอกบัวเพียงดอกเดียว เราอาจจะเข้าใจได้ถึงหลักธรรมข้อแรกในทันที คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เหมือนดอกบัวตูม เมื่อแรกบาน และยามเหี่ยวเฉาจนตายจากไปนั่นเอง